วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2559

นางฟ้ากับเทวดาร่างมนุษย์ ( 2 )

วันต่อมา
ห้ะ เธอเป็นนางฟ้าหรอกหรือฟอลถามอย่างไม่น่าเชื่อ
เบาๆสิ เดี๋ยวคนอื่นเข้ามาได้ยิน แต่ก็จริงนั่นแหละ มิเอเล่บอกฟอล
คุยกับใครนะฟอล คามิรา แม่ของฟอลถาม
เอ่อเปล่าครับๆ ฟอลโกหกไป
ฉันคงต้องพักกับคุณตลอดแล้วละ แต่เดี๋ยวฉันจะทำให้มนุษย์คนอื่นไม่เห็น ยกเว้นคุณก็แล้วกัน ห้ามมีแต่นะมิเอเล่สั่ง
เอ่อก็ได้ แต่…” ฟอลพูดแต่ถูกมิเอเล่ขัดเสียก่อน
พรุ่งนี้ ฉันจะต้องไปหาโรงเรียนของเหล่ามนุษย์เรียนแล้วนะมิเอเล่หนักใจ
แล้วเธอจะไปโรงเรียนไหนละฟอลถามมิเอเล่
โรงเรียน คอเรสเพส แอสเวิลด์ มิเอเล่พูดต่อ แต่ตอนนี้ฉันคงต้องไปธุระแล้วละ ไว้เจอกันคุณตอนมิเอเล่พูด
เดี๋ยวมิเอเล่ โรงเรียนนั้นเป็นโรงเรียนของฉัน และฉันก็ไม่ได้ชื่อตอนด้วย มิเอเล่ฟอลพูดอย่างรวดเร็วแต่มิเอเล่ไปแล้ว
เช้าวันรุ่งขึ้น
สวัสดีฟอล เป็นไงสบายดีหรือเปล่า เห็นเมื่อวานนายไปเก็บบอลแล้วก็หายไปเลย พวกเราตกใจกันแทบแย่ เพื่อนสนิทของฟอลชื่อ นาย ทักทายเสียงใส
ปะเปล่า ฉันสบายดีฟอลพูดอย่างกังวลใจอีกครั้งหนึ่ง
ปัง เสียงประตูเปิดขึ้นฟอล พบว่ามีคนล้อมรอบอยู่เต็มโต๊ะตัวหนึ่ง ที่มีเสียงพูดคุยกันอย่างดังสนั่นไปจนถึงอาคารเรียนชั้นนอก และเสียงนั้นก็ดังไปถึงหูของอาจารย์ สินซ์ เอฟเวอร์โคฟตาร์  ครูผู้สอนวิชาสงบนิ่ง
พวกเธอพูดเสียงดังไปแล้วนะ อาจารย์สินซ์ ตะคอกเสียง
เอ่อขอประทานโทษครับอาจารย์สินซ์วี หัวหน้าห้องพูดขึ้น
อย่าให้เกิดเสียงดังขึ้นอีกนะ ฉันรำคาญอาจารย์สินซ์พูดขึ้น
(นักเรียนทุกคนเตรียมตัวเข้าเรียนแล้ว)
เอ่อยินดีที่ได้รู้จักนะครับคุณมิเอเล่วี พูดขึ้นอย่างดัง
เช่นกันค่ะ คุณวีมิเอเล่พูดถ่อมตน
มิเอเล่ นั่นเธอหรอ!?” ฟอลพูดอย่างตกใจ
สวัสดีคุณฟอล วันนี้ฉันไปนอนบ้านคุณเหมือนเดิมนะมิเอเล่พูดอย่างสบายใจ
ห้ะ!?” ทุกคนในห้องพูดพร้อมกัน
(แต่คนที่ดูโกรธที่สุดคือวี)
แต่พวกเราเพิ่งรู้จักเธอนี่มิเอเล่ ทำไมเธอถึงได้ไปนอนบ้านฟอลละ วี พูดด้วยอารมณ์ฉุนโกรธ
(ฟอลไม่ชอบวี)
แล้วนายล่ะ ทำเป็นเท่ห์ หัวหน้าห้องเค้าไม่ทำกันแบบนี้หรอกฟอลตอบกลับ
พอทีเถอะ ทั้งคู่เลย นั่งได้แล้ว คุณวี คุณฟอลมิเอเล่พูดบ้าง
(อาจารย์เข้ามา)
สวัสดีจ้ะ นักเรียน ครูชื่อครูวีนัสนะจ้ะ ยินดีที่ได้รู้จัก ครูขอให้นักเรียนทุกคนเดินออกมาหน้าสายชั้นเพื่อแนะนำตัวเองและหยิบฉลากเลือกที่นั่งนะจ้ะ
(เลือกที่นั่ง)
ครูจะประกาศตามนี้นะจ้ะ คิมวา อลิส มีเนอร์ว่า  บอนส์ วาง ฟอลวี  มิเอเล่ กายครูวีนัสประกาศ
ฉันนั่งกับนายเนี่ยนะฟอลและวีพูดพร้อมกัน
คุณกายหรอ ใครหรอค่ะ คุณเจนมิเอเล่ถาม เจน (เจนแอบชอบฟอลแต่ไม่ค่อยชอบมิเอเล่)
สุดหล่อของโรงเรียนนะ หล่อมาก หล่อละลายเจนพูดอย่างหมดอารมณ์และประชด
ขอโทษครับ พอดีรถติด สวัสดีครับอาจารย์วีนัสและ….ใครหรอ?” กาย ตะลึงในความสวยของมิเอเล่
สะสวัสดีค่ะคุณกาย ฉันชื่อมิเอเล่นะ เป็นเด็กใหม่ ดีใจที่ได้นั่งข้างกันนะ มิเอเล่พูดอย่างดีใจ
(แต่หารู้ไม่ว่า กาย วี ฟอล วาและนายชอบมิเอเล่) (มิเอเล่สวยเหมือนนางฟ้าเพราะมีเชื้อสายของวีล่าอยู่)
คะครับ สะสวัสดีครับ กายครับ เป็นนักฟุตบอลกองกลางโรงเรียนครับกายแนะนำตัวเอง
เอ่อคุณกายครับ กรุณานั่งลงเถอะครับ ต่อไปเราจะเรียนวิชาภาษาศาสตร์ วีพูดอย่างไม่ค่อยพอใจ
เอ่อ ขอโทษค่ะ คุณวี ดิฉันขอเปลี่ยนที่นั่งได้ไหมค่ะ มิเอเล่พูดอย่างไม่เกรงใจ
เอ่อคุณจะไปนั่งไหนละครับวีพูดอย่างสงสัย
เอ่อดิฉันสนิทกับฟอลค่ะ เลยไม่อยากนั่งกับคนอื่นหวังว่าคุณวีคงเข้าใจนะค่ะ ขอบคุณคุณกายมากนะค่ะ หวังว่าเราคงได้เป็นเพื่อนที่สนิทและรู้ใจกันอีกค่ะ สวัสดีค่ะพูดจบมิเอเล่ก็ลุกขึ้นเปลี่ยนที่นั่งกับวีทันที
ณ บ้านของฟอล
สวัสดีครับคุณน้า อิสระ (แม่ของวี)ฟอลพูดทักทายหมายเลขโทรศัพท์ที่ดังขึ้น
เอ่อฟอลจ้ะ จะเป็นการรบกวนไหมถ้าน้าให้วีไปอยู่แล้วก็อยู่ที่บ้านด้วยซัก 1 เดือน ปิดเทอมแล้วนี่ เพราะน้ากับแม่ของฟอลจะไปเที่ยวกันนะจ้ะได้ไหมจ้ะ แม่ของวีพูด
อ่าครับเชิญเลยครับ เดี๋ยวผมจะออกไปต้อนรับวีอย่างดีเลยครับ แค่นี้นะครับ สวัสดีครับ ฟอลพูดประชด
ใครโทรมาหรอฟอล!?” มิเอเล่ถามขึ้นอย่างสงสัย
แม่ของวีนะ จะให้วีมาอยู่ที่นี่ 1 เดือนฟอลพูดอย่างเจ็บใจ
อ้าวแล้วนายไม่ดีใจเหรอมิเอเล่สงสัย
ใครจะไปดีใจ ยิ่งหึงเธออยู่ด้วยฟอลพูดหลุดปากออกมา
อะอะไรนะฟอลมิเอเล่ถามขึ้นอย่างสงสัย
เปล่านี่คงถึงเวลาที่วีจะมาแล้วละ เธอไปอยู่ในห้องฉันก่อนก็แล้วกัน เครนะฟอลรีบพูดเปลี่ยนเรื่อง
โอเคมิเอเล่ตอบกลับ
เวลา 10.00 .
ฟอลๆ เปิดประตูให้ฉันหน่อยสิ ฉันวีเองนะวีเคาะประตูอย่างดัง (แต่คนที่ออกมาไม่ใช่ฟอล)
โอ๊ยอะไรกันนี่ คนจะหลับจะนอน มาทางไหนกลับไปทางนั้นเลย ฉันไม่รู้จักแกคุณลุงที่อยู่ข้างบ้านฟอลตะคอก
เอ่อแล้วฟอลอยู่ไหนครับวีถามขึ้นอย่างกลัวๆ
ฟอลอยู่บ้านตรงข้ามนู่นไปได้แล้วโว้ยคุณลุงตะคอกใส่วี
วีๆๆๆๆๆๆๆ แกไปทำอะไรตรงนั้นฟะ ฟอลพูด
อ้าว ฟอลลลวีพูด
มาๆเข้าบ้านก่อน แม่บอกฉันแล้วนะว่าแกจะมาอยู่ที่นี่อ้ะฟอลพูด
เออๆๆ แม่เร็วตลอดวีพูด
ฮัชเช่ยมิเอเล่ไอ
เฮ้ย ใครไอว่ะเสียงเหมือนผู้หญิงเลยวีถามอย่างสงสัย
เอ่อเราเองแหละฟอลแก้ตัว
ตู้ด ตู้ดๆๆๆๆๆๆเสียงโทรศัพท์ของฟอลดังขึ้น
สวัสดีครับอะไรนะครับแม่จะให้ผมไปเที่ยวอเมริกาหรอครับ ครับๆแล้วเงินละครับ อยู่บนตู้หรอครับแล้ววีละครับให้วีไปด้วยหรอครับแม่ ครับๆสวัสดีครับฟอลพูด
ทำไมอะวีถาม
แพ็กของไปเที่ยวเมกากันฟอลพูด
อเมริกาหรอ แต่ฉันไม่มีเสื้อผ้าเลยนะวีบอก
แม่บอกว่าเงินอยู่บนตู้นะ แต่ฉันว่าถ้าเอาไปซื้อเสื้อผ้า น่าจะไม่พอไปเที่ยวนะฟอลพูดอย่างเครียด
คุณฟอลค่ะมิเอเล่เรียก
มิเอเล่ เธอมาอยู่ที่นี่ได้ยังไงวีถามอย่างแปลกใจ
เอ่อพอดีว่าฉันเจอมิเอเล่ที่สวนสาธารณะนะ เอ่อก็เลยพามากินขนมที่บ้านนะฟอลตอบอย่างมีเล่ห์กล
หรอ เออก็ดีแล้ว ฉันคิดว่านายกับมิเอเล่อยู่บ้านเดียวกันซะอีก วีพูดชวนขำ
เออใช่สิ ใครจะมานอนกับหมอนี่ละมิเอเล่กลบ
อือเออๆนายเอาผ้ามายังอ่ะฟอลถาม
ยังเลยวะ ตอนนี้กุญแจบ้านอยู่ที่แม่แล้วอะ แล้วแม่ก็ไปเมกาแล้ว วีเสียดาย
ฉันจัดการเองๆๆๆมิเอเลาพูด แต่ฉันขอตัวไปห้องฉันก่อนนะ มิเอเล่เผลอพูดออกไป
ห้องเธอ?” วีถามซ้ำ

เอ่อ ห้องของแม่ฟอลนะ ขอตัวนะมิเอเล่พูดลน

ยายนางฟ้า กับ เทวดาร่างมนุษย์ ( 1 )

             ยายนางฟ้า กับ เทวดาร่างมนุษย์

สวัสดีครับ ผมมีชื่อว่า ฟอล วันนี้ผมมีเรื่องเล่าดีๆเป็นเรื่องของผมที่เป็นความลับอยู่อย่างนึง ที่ผมไม่เคยเล่าให้ใครฟังแล้วก็อีกเรื่องนึงเป็นเรื่องของผมกับผู้หญิงคนหนึ่ง เขาเป็นคนที่ผมรักมาก ถึงแม้ว่าเรา 2 คนจะไม่ได้อยู่ด้วยกันก็เถอะครับ พร้อมแล้วไปฟังกันเลยดีกว่าครับ
เรื่องนี้เริ่มต้นมาจาก บนสวรรค์!?

สวัสดีค่ะฉันชื่อ มิเอเล่ เรียกสั้นๆว่า มิล ก็ได้ค่ะ ฉันเป็นนางฟ้าเก็บละอองภูติที่ถึงแม้ว่าจะไม่มีละอองภูติเลยก็ตาม ฉันอยากเป็นนางฟ้ารักษามนุษย์นะค่ะ ถึงแม้ว่ามนุษย์จะไม่ต้องการเราก็ตาม!?” เสียงของหญิงนามมิเอเล่ หรือ มิล พูดขึ้น
 แหม พูดพรีเซนต์ตัวเองใหญ่เลยนะ แม่มิเอเล่เสียงของหญิงอีกคนหนึ่งพูด เธอมีนามว่า โฟร์
โฟร์วันนี้เธอไม่ไปทำงานเป็นนางฟ้ารักษามนุษย์หรอ?” มิเอเล่ถามขึ้นอย่างสงสัย
แหม ก็ฉันมีแฟนเป็นถึงทูตใหญ่ของเหล่านางฟ้าที่แองเจนลินาแห่งนี้เลยนี่ จะให้ฉันทำอะไรอีกล่ะ?” โฟร์พูดโอ้อวดตัวเองอย่างภูมใจให้มิเอเล่ฟัง
เป็นเธอนี่ก็ดีนะจะทำหรือไม่ทำอะไรก็ได้ เฮ้อมิเอเล่ถอนใจเมื่อได้ฟังคำบอกเล่า โอ้อวดของโฟร์
เธออย่าเสียใจไปเลยน่า อย่าลืมนะว่าอีกหน่อยถ้าเธอ up level ขึ้นได้เธอก็จะได้เป็นนางฟ้ารักษามนุษย์แล้วนี่
ถึงกระนั้น ฉันก็ยังอิจฉาเธออยู่ดีนั่นแหละมิเอเล่พูดให้โฟร์ฟัง
(ทันใดนั้น)
มิเอเล่ มิเอเล่จัง อยู่ไหนๆ มิเอเล่ มิเอเล่จัง เสียงหวานละมุนของหนุ่มนามว่า ปีเตอร์ ร้องเรียกตะโกนหามิเอเล่
ฉันอยู่นี่ๆ ปีเตอร์ๆ ฉันอยู่นี่มิเอเล่ตอบรับคำถามของปีเตอร์
อ้าวมิเอเล่และ ท่านโฟร์ ข้าขอน้อมคาระวะ ปีเตอร์พูดอย่างเกร็งใจที่ต้องเจอโฟร์
“555 นายทำอะไรเนี่ยท่านโฟร์อะไรกัน เรียกโฟร์นี่แหละโฟร์พูดให้ปีเตอร์ฟัง
ขอรับๆปีเตอร์ขานรับ
ว่าแต่ปีเตอร์มีอะไรหรอจ้ะมิเอเล่ถามอย่างสงสัย
อ๋อ พอดีท่านทูตใหญ่แห่งอาชีพเรียกมิเอเล่นะครับ ปีเตอร์พูดอย่างสบายใจ
เรียกทำไมน้า แต่มิเอเล่ขอตัวก่อนละกันนะค่ะ สวัสดีค่ะมิเอเล่พูดลนลานแล้วก็เดินออกไป
(ฝ่ายท่านทูตใหญ่แห่งอาชีพ)
ปีเตอร์อยู่ไหนเนี่ย ให้ไปตามมิเอเล่ตั้งนานแล้ว ท่านทูตใหญ่แห่งอาชีพหรือ เลฟ บอกมือขวานาม เอฟ อย่างโมโห
เอ่อกระผมคิดว่าปีเตอร์น่าจะกำลังไปตามอยู่นะขอรับ เอฟพูดอย่างกลัวๆ
ปัง!!! (เสียงประตูดังขึ้น) ขออนุญาตครับปีเตอร์พูด
ทำไมเจ้าถึงมาช้าบอกข้าสิ เลฟโมโหหนักมาก
เอ่อคือ มิเอเล่เค้าเค้าไปเข้าห้องน้ำมานะครับ ปีเตอร์เผลอพูดโกหกออกไป
จริงเหรอ มิเอเล่ ท่านทูตใหญ่ถาม
เอ่อใช่ค่ะๆ มิเอเล่พูดตามน้ำไป
เอาล่ะ ปีเตอร์ ไม่มีอะไรแล้วเจ้าจงกลับไปได้ ท่านทูตใหญ่ออกคำสั่ง
ขอขอรับ ขอลาคารวะขอรับ ปีเตอร์กล่าวลา
เอ่อว่าแต่ ท่านทูตใหญ่เรียกมิเอเล่มาทำไมเจ้าค่ะ มิเอเล่ถามอย่างสงสัย
เรื่องที่จะบอกก็คือ เจ้าต้องไปทำงานเป็นนางฟ้ารักษามนุษย์ ที่โลกมนุษย์ ท่านทูตใหญ่บอกมิเอเล่
จะจริงหรอค้ะ?” มิเอเล่ถามอย่างสงสัย
ก็ใช่นะสิ วันพรุ่งนี้เจ้าออกเดินทางได้เลย เอาล่ะไปได้แล้ว อ้อ เรียกโฟร์มาพบจ้าด้วยนะ เจ้าไปได้แล้ว ท่านทูตใหญ่สั่ง
 “กระหม่อม ขอกราบทูลลาเจ้าค่ะ มิเอเล่พูดอย่างเศร้าสร้อย
(วันพรุ่งนี้)
เราคงต้องไปเสียแล้วสินะ ลาก่อนนะ แองเจนล่า มิเอเล่พูดแล้วเดินจากไป
(ตู้ม!!!) (ประตูสวรรค์เปิดขึ้น)
อ๊ากกกกกกกกกก ตู้มมมมิเอเล่ตะโกนอย่างดัง
โอ๊ย!!! เจ็บบบ มิเอเล่บ่น
เดี๋ยวเราไปเก็บบอลแป๊ปนึง เสียงของชายปริศนาดังขึ้น
อยู่ไหนนะ ชายปริศนาคร่ำครวญ
เฮ้ย เธอเป็นใคร มาอยู่บ้านฉันได้ยังไงเนี่ยชายปริศนาพูด
อ๊ะ มนุษย์ มิเอเล่เป็นลมไป
เฮ้ย คุณชายปริศนาพูด

นั่นเป็นครั้งแรกที่ผมได้เจอกับเค้า ชายปริศนาคนนั้นคือผมเองละครับ ผมฟอลเอง

วันเสาร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ระดับของสารสนเทศ (Level of Information)

                      ระดับของสารสนเทศ (Level of Information) 



        

 ปัจจุบันข้อมูลและสารสนเทศมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากสังคมในยุคปัจจุบันถือได้ว่าเป็นสังคมฐานความรู้ (Knowledge-based Society) กล่าวคือ คนในสังคมใช้ข้อมูลและสารสนเทศในการตัดสินใจ มีการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสารสนเทศจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสูงขึ้น ทั้งนี้เพราะสารสนเทศเป็นสิ่งที่ช่วยให้การตัดสินใจของผู้ใช้มีความแม่นยำ ให้นักเรียนลองจินตนาการดูว่า หากนักเรียนต้องการซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยการเดินเข้าไปที่ร้านและเลือกพิจารณาคอมพิวเตอร์ทีละยี่ห้อเพื่อเปรียบเทียบด้วยตนเองนั้น นักเรียนคงต้องใช้เวลาเป็นวันในการเทียบเคียงข้อมูล แต่ปัจจุบันหากนักเรียนต้องการข้อมูลเพื่อตัดสินใจซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ เพียงแต่เข้าอินเทอร์เน็ต นักเรียนจะพบว่ามีหลายเว็บไซต์ที่ให้นักเรียนกรอกความต้องการการใช้งานเครื่อง แล้วเว็บไซต์จะประมวลผลและนำเสนอเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีคุณลักษณะและรุ่นใกล้เคียงกับความต้องการได้เพียงเสี้ยววินาที ซึ่งนี่เป็นแค่ตัวอย่างของการใช้งานสารสนเทศของผู้ใช้เป็นรายบุคคลเท่านั้น ปัจจุบันหน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ ได้นำสารสนเทศมาใช้ในการตัดสินใจมากขึ้น ซึ่งระดับของสารสนเทศเป็นระดับของการเกี่ยวข้องกับสารสนเทศ มีอยู่ด้วยกัน 3 ระดับ ดังนี้ 

1. ระดับบุคคล 

            ระดับของการเกี่ยวข้องกับสารสนเทศในระดับบุคคลนั้น จะเป็นการที่แต่ละบุคคลในองค์กรจะสร้างและใช้สารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานส่วนตัวเท่านั้น เช่น การใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ดในการพิมพ์เอกสาร การใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์พาวเวอร์พอยต์ในงานนำเสนอสำหรับการสอนหรือบรรยาย โดยสามารถกรอกข้อความ ตาราง ภาพ ภาพเคลื่อนไหวและเสียง ที่ช่วยดึงดูดให้ผู้ฟังสนใจตลอดเวลา การใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์เอ็กเซลล์กรอกข้อมูล คำนวณ สร้างกราฟ และทำนายผลลัพธ์ของข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น 

สารสนเทศระดับบุคคล


2. ระดับกลุ่ม 

            ระดับของการเกี่ยวข้องกับสารสนเทศในระดับกลุ่มนั้น จะเป็นการที่กลุ่มของคนในองค์กรที่ต้องทำงานร่วมกันจะสร้างและใช้สารสนเทศร่วมกัน ซึ่งจะส่งเสริมการดำเนินงานของกลุ่มให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
        หลักการ คือ นำเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมาเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายระยะใกล้หรือระยะไกล ทำให้มีการใช้ทรัพยากร ได้แก่ ข้อมูลและอุปกรณ์เทคโนโลยีพื้นฐานร่วมกัน 

สารสนเทศระดับกลุ่ม

3. ระดับองค์กร 

            ระดับของการเกี่ยวข้องกับสารสนเทศในระดับองค์กรนั้น จะเป็นการที่แผนกต่าง ๆ ในองค์กร เช่น แผนการขายและการตลาด แผนการผลิต แผนกจัดซื้อ แผนกบุคคล แผนกการเงินและการบัญชี เป็นต้น มีการสร้างและส่งผ่านสารสนเทศจากแผนกหนึ่งไปยังอีกแผนกหนึ่งได้โดยสร้างสารสนเทศในรูปแบบรายงาน หรือกราฟเพื่อให้ผู้บริหารนำไปประกอบการตัดสินใจได้

        หลักการ คือ นำเครื่องคอมพิวเตอร์ของแผนกต่าง ๆ มาเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายเพื่อให้เกิดการใช้ข้อมูลร่วมกัน

        สิ่งที่สำคัญของระบบสารสนเทศระดับกลุ่มและระดับองค์กร คือ การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่ายทั้งภายในองค์กรและการเชื่อมโยงภายนอกองค์กร เพื่อให้มีการสื่อสารและส่งข้อมูลถึงกันได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ 


สารสนเทศระดับองค์กร

การจัดการสารสนเทศ (Information Management)

           การจัดการสารสนเทศ (Information Management)  


   ความหมายและประเภทของข้อมูลและสารสนเทศ
ข้อมูล(Data)  คือ  สิ่งต่าง ๆ หรือข้อเท็จจริง  ที่ได้รับจากประสาทสัมผัสหรือสื่อต่าง ๆที่ยังไม่ได้ผ่านการวิเคราะห์
หรือการประมวลผล  โดยข้อมูลอาจเป็นตัวเลข สัญลักษณ์ ตัวอักษร เสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น
3.1
การแบ่งประเภทของข้อมูลขึ้นอยู่กับ
– ความต้องการของผู้ใช้
– ลักษณะของข้อมูลที่นำไปใช้
– เกณฑ์ที่นำมาพิจารณา
ในหน่วยการเรียนนี้จะยกตัวอย่างการแบ่งข้อมูลไว้ 4 รูปแบบ ดังนี้
1. การแบ่งข้อมูลตามลักษณะของข้อมูล

เป็นการแบ่งข้อมูลโดยพิจารณาจากการรับข้อมูลของประสาทสัมผัสของร่างกาย  ได้แก่
– ข้อมูลภาพที่ได้รับจากการมองเห็นด้วยดวงตา
– ข้อมูลเสียงที่ได้รับจากการฟังด้วยหู
– ข้อมูลกลิ่นที่ได้รับจากการสูดดมด้วยจมูก
– ข้อมูลรสชาติที่ได้รับจากการรับรสชาติด้วยลิ้น
– ข้อมูลสัมผัสที่ได้รับจากความรู้สึกด้วยผิวหนัง
2. การแบ่งข้อมูลตามแหล่งข้อมูลที่ได้รับ
โดยพิจารณาจากลักษณะของที่มาหรือการได้รับข้อมูล  ได้แก่
– ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data)  คือ ข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมหรือบันทึกจากแหล่งข้อมูล
โดยตรงด้วยวิธีต่างๆ เช่น จากการสอบถามการสัมภาษณ์การสำรวจการจดบันทึก
ตัวอย่างข้อมูลปฐมภูมิ  ได้แก่  ข้อมูลการมาโรงเรียนสายของนักเรียน  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ซึ่งได้จากการจดบันทึกในรอบ  1  เดือนที่ผ่านมา

– ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data)  คือ  การนำข้อมูลที่ผู้อื่นได้เก็บรวบรวมหรือบันทึกไว้มาใช้งาน
ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเก็บรวบรวมและบันทึกด้วยตนเอง  จัดเป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นในอดีต  มักผ่านการประมวลผลแล้ว
ตัวอย่างข้อมูลทุติยภูมิ  ได้แก่  สถิติการมาโรงเรียนสายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  ในปีพ.ศ.2550
3. การแบ่งข้อมูลตามการจัดเก็บในในสื่ออิเล็กทรอนิกส์
มีลักษณะคล้ายการแบ่งข้อมูลตามลักษณะของข้อมูล  แต่มีการแยกลักษณะข้อมูลตามชนิดและนามสกุล
ของข้อมูลนั้น ๆ  ได้แก่
– ข้อมูลตัวอักษร เช่น  ตัวหนังสือ  ตัวเลข  และสัญลักษณ์  ข้อมูลประเภทนี้มักมีนามสกุลต่อท้าย
ชื่อไฟล์เป็น  .txt  และ  .doc
– ข้อมูลภาพ  เช่น  ภาพกราฟิกต่าง ๆ และภาพถ่ายจากกล้องดิจิทัล ข้อมูลประเภทนี้มักมีนามสกุล
ต่อท้ายชื่อไฟล์เป็น  .bmp  .gif  และ .jpg
– ข้อมูลเสียง  เช่น  เสียงพูด  เสียงดนตรี  และเสียงเพลง ข้อมูลประเภทนี้มักมีนามสกุลต่อท้าย
ชื่อไฟล์เป็น .wav  .mp3  และ  .au
– ข้อมูลภาพเคลื่อนไหว  เช่น  ภาพเคลื่อนไหว  ภาพมิวสิกวีดีโอ  ภาพยนตร์  คลิปวิดีโอ ข้อมูลประเภท
นี้มักมีนามสกุลต่อท้ายชื่อไฟล์เป็น  .avi 
4. การแบ่งข้อมูลตามระบบคอมพิวเตอร์ 
มีลักษณะคล้ายและใกล้เคียงกับการแบ่งข้อมูลตามการจัดเก็บในสื่ออิเล็กทรอนิกส์มาก  แต่มุ่งเน้นพิจารณา
การแบ่งประเภทตามการนำข้อมูลไปใช้งานในระบบคอมพิวเตอร์  ได้แก่
– ข้อมูลเชิงจำนวน  มีลักษณะเป็นตัวเลขที่สามารถนำมาคำนวณด้วยคอมพิวเตอร์ได้  เช่น
จำนวนเงินในกระเป๋า  จำนวนค่าโดยสารรถประจำทาง  และจำนวนนักเรียนในห้องเรียน
– ข้อมูลอักขระ  มีลักษณะเป็นตัวอักษร  ตัวหนังสือ  และสัญลักษณ์ ต่างๆ ซึ่งสามารถนำเสนอข้อมูล
และเรียงลำดับได้แต่ไม่สามารถนำมาคำนวณได้  เช่น  หมายเลขโทรศัพท์  เลขที่บ้านและชื่อของนักเรียน
                – ข้อมูลกราฟิก  เป็นข้อมูลที่เกิดจากจุดพิกัดทางคอมพิวเตอร์  ทำให้เกิดรูปภาพหรือแผนที่  เช่น
เครื่องหมายการค้า  แบบก่อสร้างอาคาร  และกราฟ
– ข้อมูลภาพลักษณ์  เป็นข้อมูลแสดงความเข้มและสีของรูปภาพที่เกิดจากการสแกนของสแกนเนอร์
์เป็นหลัก  ซึ่งสามารถนำเสนอข้อมูล  ย่อหรือขยาย  และตัดต่อได้  แต่ไม่สามารถนำมาคำนวณหรือดำเนินการ
อย่างอื่นได้
3.2
สารสนเทศ(Information)  คือ  สิ่งที่ได้จากการประมวลผลของข้อมูล  เพื่อให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์
ในด้านการวางแผน  การพัฒนา  การควบคุม  และการตัดสินใจ
การแบ่งสารสนเทศสามารถแบ่งได้หลายรูปแบบ  เช่น
                1. การแบ่งสารสนเทศตามหลักแห่งคุณภาพ  ได้แก่  สารสนเทศแข็งและสารสนเทศอ่อน
                2. การแบ่งสารสนเทศตามแหล่งกำเนิด  ได้แก่  สารสนเทศภายในองค์กรและสารสนเทศ
ภายนอกองค์กร
                3. การแบ่งสารสนเทศตามสาขาความรู้  ได้แก่  สารสนเทศสาขามนุษยศาสตร์  สารสนเทศ
สาขาสังคมศาสตร์  สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  และสารสนเทศสาขาอื่น ๆ
                4. การแบ่งตามการนำสารสนเทศไปใช้งาน  ได้แก่  สารสนเทศด้านการตลาด  สารสนเทศ
ด้านการวิจัยและพัฒนาบุคลากร  และสารสนเทศด้านการเงิน
5. การแบ่งตามการใช้และการถ่ายทอดสารสนเทศ  ได้แก่    สารสนเทศที่เน้นวิชาการ  สารสนเทศ
ที่เน้นเทคนิค  สารสนเทศที่เน้นบุคคล  และสารสนเทศที่เน้นการปฏิบัติ
6. การแบ่งตามขั้นตอนของการพัฒนาสารสนเทศ  ได้แก่  สารสนเทศระยะแรกเริ่มและ
สารสนเทศระยะยาว
               7. การแบ่งสารสนเทศตามวิธีการผลิตและการจัดทำ  ได้แก่  สารสนเทศต้นแบบและสารสนเทศ
ปรุงแต่ง
8. การแบ่งสารสนเทศตามรูปแบบที่นำเสนอ  ได้แก่  สารสนเทศที่มีลักษณะเป็นเสียง  สารสนเทศ
ที่มีลักษณะเป็นข้อความ  สารสนเทศที่มีลักษณะเป็นโสตทัศนวัสดุ  และสารสนเทศที่มีลักษณะเป็นอิเล็กทรอนิกส์
9. การแบ่งสารสนเทศตามสภาพความต้องการที่จัดทำขึ้น  ได้แก่  สารสนเทศที่ทำประจำ
สารสนเทศที่ต้องทำตามกฎหมาย  และสารสนเทศที่ได้รับหมอบหมายให้จัดทำขึ้นโดยเฉพาะ
3.3
สรุป
ข้อมูล (Data) คือ ข้อเท็จจริงหรือสาระต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับงานที่ปฏิบัติ อาจเป็นตัวเลขหรือข้อความที่เกิดขึ้นจากการดำเนิน งาน  หรือที่ได้จากหน่วยงานอื่น ๆ ข้อมูลเหล่านี้ ยังไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจได้ทันทีจะนำไปใช้ได้ก็ต่อเมื่อ ผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว
สารสนเทศ (Information) นั้นคือ ข้อมูลที่ได้ผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว  อาจใช้วิธีง่าย ๆ เช่น หาค่าเฉลี่ย หรือใช้เทคนิค ขั้นสูง เช่นการวิจัยดำเนินงาน เป็นต้น เพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพข้อมูลทั่วไปให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์ หรือมีความ เกี่ยวข้องกัน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจหรือตอบปัญหาต่าง ๆ ได้   สารสนเทศ ประกอบด้วยข้อมูล เอกสาร เสียง หรือรูปภาพต่าง ๆ  แต่จัดเนื้อเรื่องให้อยู่ในรูปที่มีความหมาย    สารสนเทศไม่ใช่จำกัดเฉพาะเพียงตัวเลขเพียง อย่างเดียวเท่านั้น
คุณสมบัติของข้อมูล
        การจัดเก็บข้อมูลจำเป็นต้องมีความพยายามและตั้งใจดำเนินการ  หรือกล่าวได้ว่าการได้มาซึ่งข้อมูลที่จะนำมาใช้
ประโยชน์  องค์การจำเป็นต้องลงทุน  ทั้งในด้านตัวข้อมูล  เครื่องจักร  และอุปกรณ์  ตลอดจนการพัฒนาบุคลากรขึ้นมารองรับ  เพื่อให้ใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ  การจัดการระบบข้อมูลจึงต้องคำนึงถึงปัญหาเหล่านี้ และพยายามมองปัญหาแบบที่เป็น
จริง  สามารถดำเนินการได้  ให้ประสิทธิผลคุ้มค่ากับการลงทุน  ดังนั้นการดำเนินงานเพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศที่ดี  ข้อมูลจะต้องมีคุณสมบัติขั้นพื้นฐาน  ดังนี้
       1. ความถูกต้อง  หากมีการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วข้อมูลเหล่านั้นเชื่อถือไม่ได้จะทำให้เกิดผลเสียอย่างมาก ผู้ใช้ไม่กล้าอ้างอิงหรือนำเอาไปใช้ประโยชน์  ซึ่งเป็นเหตุให้การตัดสินใจของผู้บริหารขาดความแม่นยำ  และอาจมีโอกาสผิดพลาดได้  โครงสร้างข้อมูลที่ออกแบบต้องคำนึงถึงกรรมวิธีการดำเนินงาน เพื่อให้ได้ความถูกต้องแม่นยำ มากที่สุด  โดยปกติความผิดพลาดของสารสนเทศส่วนใหญ่  มาจากข้อมูลที่ไม่มีความถูกต้องซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากคน หรือเครื่องจักร  การออกแบบระบบจึงต้องคำนึงถึงในเรื่องนี้
       2. ความรวดเร็วและเป็นปัจจุบัน  การได้มาของข้อมูลจำเป็นต้องให้ทันต่อความต้องการของผู้ใช้  มีการตอบสนองต่อ ผู้ใช้ได้ ้เร็ว  ตีความหมายสารสนเทศได้ทันต่อเหตุการณ์หรือความต้องการ  มีการออกแบบระบบการเรียนค้นและรายงานตาม ผู้ใช้
       3. ความสมบูรณ์  ความสมบูรณ์ของสารสนเทศขึ้นกับการรวบรวมข้อมูลและวิธีการทางปฏิบัติด้วย  ในการดำเนินการจัดทำ
สารสนเทศต้องสำรวจและสอบถามความต้องการใช้ข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์ในระดับหนึ่งที่เหมาะสม
       4. ความชัดเจนและกะทัดรัด  การจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากจะต้องใช้พื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลมากจึงจำเป็นต้องออกแบบ โครงสร้างข้อมูลให้กะทัดรัดสื่อความหมายได้  มีการใช้รกัสหรือย่นย่อข้อมูลให้เหมาะสมเพื่อที่จะจัดเก็บเข้าไว้ในระบบ คอมพิวเตอร์
       5. ความสอดคล้อง  ความต้องการเป็นเรื่องที่สำคัญ  ดังนั้นจึงต้องมีการสำรวจเพื่อหาความต้องการของหน่วยงานและองค์
การ  ดูสภาพการใช้ข้อมูล  ความลึกหรือความกว้างของขอบเขตของข้อมูลที่สอดคล้องกับความต้องการ
การทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ
การทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศที่จะเป็นประโยชน์ต่อการใช้งาน  จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการดำเนินการเริ่มตั้งแต่การรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล  การดำเนินการประมวลผลข้อมูลให้กลายเป็นสารสนเทศและการดูแลรักษา สารสนเทศเพื่อการใช้งาน
1.  การรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล  ควรประกอบด้วย
1.1  การเก็บรวบรวมข้อมูล  เป็นเรื่องของการเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งมีจำนวนมาก  และต้องเก็บให้ได้อย่างทันเวลา  เช่น  ข้อมูลการลงทะเบียนเรียนของนักเรียน  ข้อมูลประวัติบุคลากร  ปัจจุบันมีเทคโนโลยีช่วยในการจัดเก็บอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น การป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์  การอ่านข้อมูลจากรหัสแท่ง  การตรวจใบลงทะเบียนที่มีการฝนดินสอดำในตำแหน่งต่าง ๆ  เป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเช่นกัน
1.2  การตรวจสอบข้อมูล  เมื่อมีการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วจำเป็นต้องมีการตรวจสอบข้อมูล  เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง  ข้อมูลที่เก็บเข้าในระบบจะต้องมีความเชื่อถือได้  หากพบที่ผิดพลาดต้องแก้ไข  การตรวจสอบข้อมูลมีหลายวิธี  เช่น  การใช้ผู้ป้อนข้อมูลสองคนป้อนข้อมูลชุดเดียวกันเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วเปรียบเทียบกัน
2. การดำเนินการประมวลผลข้อมูลให้กลายเป็นสารสนเทศ  อาจประกอบด้วยกิจกรรมดังต่อไปนี้
2.1  การจัดแบ่งข้อมูล  ข้อมูลที่จัดเก็บจะต้องมีการแบ่งแยกกลุ่ม  เพื่อเตรียมไว้สำหรับการใช้งาน  การแบ่งแยกกลุ่มมีวิธีการ ที่ชัดเจน  เช่น ข้อมูลในโรงเรียนมีการแบ่งเป็นแฟ้มประวัตินักเรียน  และแฟ้มลงทะเบียน สมุดโทรศัพท์หน้าเหลืองมีกรแบ่ง หมวดหมู่สินค้า  และบริการ  เพื่อความสะดวกในการค้นหา
2.2  การจัดเรียงข้อมูล เมื่อจัดแบ่งกลุ่มเป็นแฟ้มแล้ว  ควรมีการจัดเรียงข้อมูลตามลำดับ  ตัวเลข  หรือตัวอักษร  หรือเพื่อให้เรียก ใช้งานได้ง่ายประหยัดเวลา  ตัวอย่างการจัดเรียงข้อมูล  เช่นการจัดเรียงบัตรข้อมูลผู้แต่งหนังสือในตู้บัตรรายการของห้องสมุด ตามลำดับตัวอักษร  การจัดเรียงชื่อคนในสมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์  ทำให้ค้นหาได้ง่าย
2.3 การสรุปผล  บางครั้งข้อมูลที่จัดเก็บมีเป็นจำนวนมาก  จำเป็นต้องมีการสรุปผลหรือสร้างรายงานย่อ  เพื่อนำไปใช้ประโยชน์  ข้อมูลที่สรุปได้นี้อาจสื่อความหมายได้ดีกว่า  เช่นสถิติจำนวนนักเรียนแยกตามชั้นเรียนแต่ละชั้น
2.4 การคำนวณ  ข้อมูลที่เก็บมีเป็นจำนวนมากข้อมูลบางส่วนเป็นข้อมูลตัวเลขที่สามารถนำไปคำนวณเพื่อหาผลลัพธ์บางอย่างได้ ดังนั้นการสร้างสารสนเทศจากข้อมูลจึงอาศัยการคำนวณข้อมูลที่เก็บไว้ด้วย

3. การดูแลรักษาสารสนเทศเพื่อการใช้งาน  ประกอบด้วย
3.1  การเก็บรักษาข้อมูล  การเก็บรักษาข้อมูลหมายถึงการนำข้อมูลมาบันทึกเก็บไว้ในสื่อบันทึกต่างๆ  เช่น แผ่นบันทึกข้อมูล
นอกจากนี้ยังรวมถึงการดูแล และทำสำเนาข้อมูล  เพื่อให้ใช้งานต่อไปในอนาคตได้
3.2 การค้นหาข้อมูล  ข้อมูลที่จัดเก็บไว้มีจุดประสงค์ที่จะเรียกใช้งานได้ต่อไปการค้นหาข้อมูลจะต้องค้นได้ถูกต้องแม่นยำ
รวดเร็ว  จึงมีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามามีส่วนช่วยในการทำงาน  ทำให้การเรียกค้นกระทำได้ทันเวลา
3.3 การทำสำเนาข้อมูล  การทำสำเนาเพื่อที่จะนำข้อมูลเก็บรักษาไว้  หรือนำไปแจกจ่ายในภายหลัง  จึงควรจัดเก็บข้อมูลให้
ง่ายต่อการทำสำเนา  หรือนำไปใช้อีกครั้งไดโดยง่าย
3.4 การสื่อสาร  ข้อมูลต้องกระจายหรือส่งต่อไปยังผู้ใช้งานที่ห่างไกลได้ง่าย  การสื่อสารข้อมูลจึงเป็นเรื่องสำคัญและมี
บทบาทที่สำคัญยิ่งท่จะทำให้การส่งข่าวสารไปยังผู้ใช้ทำได้รวดเร็วและทันเวลา
ตัวอย่าง
 การจัดการสารสนเทศ
การจัดการสารสนเทศมี  3  ขั้นตอน  คือ  การเก็บรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล  การประมวลผลข้อมูล
และการดูแลรักษาข้อมูล
การเก็บรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล
เป็นขั้นตอนแรกในการจัดการสารสนเทศ  ซึ่งควรกระทำควบคู่กันไป  คือ  เมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลได้แล้ว
ก็ทำการตรวจสอบข้อมูลนั้นทันที  เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องตามความต้องการมากที่สุด
1. การเก็บรวบรวมข้อมูล  เป็นการจัดการกับข้อมูลจำนวนมาก  จึงควรกำหนดว่าจะต้องใช้ข้อมูลอะไร
บ้าง  ข้อมูลได้มาจากไหน  และจัดเก็บข้อมูลนั้นมาได้อย่างไร
2. การตรวจสอบข้อมูล  เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาเพื่อได้สารสนเทศ
ที่คุณภาพ
การประมวลผลข้อมูล
 การประมวลผลข้อมูล  คือ  การนำข้อมูลที่มีอยู่แล้วหรือข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมและตรวจสอบมา
กระทำเพื่อให้ข้อมูลเปลี่ยนแปลงไปจนเกิดผลลัพธ์ตามที่ต้องการ  ดังนี้
1. การรวบรวมเป็นแฟ้มข้อมูล  เป็นการแยกประเภทของข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาอย่างเป็นระบบตามกลุ่ม
และประเภทของข้อมูลนั้น  เพื่อให้สามารถดำเนินการในขั้นตอนต่อไปได้อย่างสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น
ทั้งนี้อาจเก็บไว้ในรูปของแฟ้มเอกสารหรือแฟ้มข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในคอมพิวเตอร์ก็ได้
2. การจัดเรียงข้อมูล  เป็นขั้นตอนการประมวลผลข้อมูล  เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหาหรืออ้างอิงข้อมูลในอนาคต
 3. การคำนวณ  เป็นการประมวลผลที่ต้องการผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่มีความละเอียดถูกต้อง  แม่นยำ
เนื่องจากที่รวบรวมและจัดเก็บมานั้นอาจมีทั้งรูปแบบของข้อความและตัวเลข  ซึ่งต้องมีการคำนวณหาค่าเฉลี่ยหรือ
ผลรวมของข้อมูลนั้น ๆ
4. การทำรายงาน  เป็นการประมวลผลที่มีความสลับซับซ้อนมากที่สุด  โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อเผยแพร่ ข้อมูลในอนาคต  ผู้ดำเนินการจะต้องสรุปข้อมูลเพื่อทำรายงานให้ตรงกับความต้องการในการใช้สารสนเทศ นั้น ๆ
โดยจะต้องนำเสนอรายงานในรูปแบบที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดการสารสนเทศ
การดูแลรักษาข้อมูล
การดูแลรักษาข้อมูล  เป็นขั้นตอนการจัดการสารสนเทศมีจุดประสงค์หลักเพื่อป้องกันและเก็บรักษาข้อมูล ไม่ให้สูญหาย  ช่วยอำนวยความสะดวกในการค้นหาข้อมูลสำหรับนำกลับมาใช้ใหม่ในอนาคต
  1. การจัดเก็บ  คือการนำข้อมูลที่ผ่านการตรวจสอบและประมวลผลแล้วมาบันทึกเข้าสู่ระบบข้อมูล
อย่างมีระเบียบและเป็นหมวดหมู่  เพื่อความสะดวกในการเรียกใช้งาน  ทั้งนี้อาจจัดเก็บไว้ในรูปแบบของแฟ้มเอกสาร
สิ่งพิมพ์หรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ในคอมพิวเตอร์ก็ได้
        2. การทำสำเนา  คือ  การเพิ่มจำนวนข้อมูลด้านปริมาณ  โดยเนื้อหาของข้อมูลจะไม่เปลี่ยนแปลงไป
จากต้นฉบับหรือข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว  สามารถกระทำได้โดยการคัดลอกทั้งจากมนุษย์หรือ
เครื่องจักรต่าง ๆ  ซึ่งเป็นเครื่องถ่ายเอกสารหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ได้
        3. การแจกจ่ายและการสื่อสารข้อมูล  คือ  การนำสำเนาที่ทำเพิ่มไว้แจกจ่ายให้แก่ผู้ใช้และผู้เกี่ยวข้อง
        4. การปรับปรุงข้อมูล  คือ  การแก้ไขปรับปรุงรายการข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน  อาจกระทำโดยการแก้ไขข้อมูลบางส่วนหรือบันทึกข้อมูลเพิ่มเติมลงในระบบข้อมูล
วิธีการประมวลผลข้อมูล
การประมวลผลข้อมูลสามารถทำได้  2  วิธี  คือ  การประมวลผลแบบกลุ่มและการประมวลผลแบบทันที  ดังนี้
       1. การประมวลผลแบบกลุ่ม  ข้อมูลของการประมวลผลแบบนี้จะถูกเก็บสะสมไว้ในช่วงเวลาที่กำหนด
เช่น 7  วัน  หรือ  1  เดือน  แล้วจึงนำข้อมูลที่สะสมไว้มาประมวลผลรวมกันครั้งเดียว  เช่น  การคำนวณค่าบริการ น้ำประปา  โดยข้อมูลปริมาณน้ำที่ใช้ทั้งหมดจะถูกเก็บบันทึกไว้ในรอบ  1  เดือน  แล้วจึงนำมาประมวลผลเป็น ค่าน้ำประปาในครั้งเดียว    การประมวลผลแบบนี้มักมีความผิดพลาดสูง  แต่เสียค่าใช้จ่ายในการประมวลผลน้อย
      2. การประมวลผลแบบทันที  เป็นการประมวลผลที่เกิดขึ้นพร้อมกับการรับข้อมูลหรือหลังจากได้รับข้อมูลทันที  เช่นการฝากและถอนเงินธนาคาร  เมื่อลูกค้าฝากเงิน  ข้อมูลนั้นจะถูกประมวลผลทันที  ทำให้ยอดฝากในบัญชีนั้นมีการเปลี่ยนแปลง  การประมวลผลแบบนี้จะมีความผิดพลาดน้อย  แต่เสียค่าใช้จ่ายในการประมวลผลมาก
ระดับของสารสนเทศ
ระดับขององค์กร
  1. สารสนเทศระดับบุคคล  คือ  สารสนเทศที่ส่งเสริมการทำงานให้แก่ผู้ใช้แต่ละคน  ทำให้ทำงานในหน้าที่ ที่รับผิดชอบมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  ซึ่งสารสนเทศที่ใช้จะมีความแตกต่างกันไปตามลักษณะของการทำงาน และความรับผิดชอบของแต่ละบุคคล  เช่นพนักงานขายใช้สารสนเทศในการนำเสนอสินค้าให้ดูน่าสนใจ  และนักเรียนใช้สารสนเทศทำรายงานที่สะอาดและเรียบร้อย
    2. สารสนเทศระดับกลุ่ม  คือ  สารสนเทศที่ช่วยส่งเสริมการทำงานของกลุ่มบุคคลที่มีจุดมุ่งหมาย
ในการทำงานอย่างเดียวกัน  ซึ่งส่งเสริมการใช้ข้อมูลและอุปกรณ์เทคโนโลยีพื้นฐานร่วมกัน  สารสนเทศระดับกลุ่ม จึงมีการใช้ระบบเครือข่ายมาร่วมในการทำงาน  จึงทำให้สามารถใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และข้อมูลที่เก็บไว้ใน ระบบฐานข้อมูลร่วมกัน  ด้วยการสร้างแฟ้มข้อมูลขึ้นที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์  ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการเก็บ ข้อมูล  เช่น พนักงานขายสามารถใช้ข้อมูลสิ้นค้าแบบเดียวกันได้ทุกคน  และนักเรียนสามารถสั่งพิมพ์เอกสาร ด้วยเครื่องพิมพ์เดียวกันจากคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
3. สารสนเทศระดับองค์กร  คือ  สารสนเทศที่ส่งเสริมการทำงานในภาพรวมขององค์กร  ซึ่งจะเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันในหลายฝ่าย  จึงมีการเชื่อมโยงสารสนเทศระดับกลุ่มหลาย ๆ กลุ่มเข้าด้วยกัน  ทำให้เกิดประโยชน์ในการบริหารงานในระดับผู้ปฏิบัติการและผู้บริหารระดับสูง  ซึ่งสามารถใช้ข้อมูลจากฝ่ายใดก็ได้  เพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจ
ระดับของผู้บริหาร
     1. ผู้บริหารระดับล่าง  เป็นการใช้สารสนเทศในการปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน  เช่น
ผู้จัดการใช้โปรแกรมไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนสารสนเทศกับหัวหน้าแผนกต่าง ๆ
และนักเรียนใช้สารสนเทศในการทำงานหรือในการเรียนในวิชาต่าง ๆ
2.  ผู้บริหารระดับกลาง  เป็นการใช้สารสนเทศเพื่อการวางแผนระยะสั้น  เหมาะสำหรับงานประเภท
การควบคุมและจัดการ  เช่น  ผู้จัดการนำสารสนเทศมาวางแผนการผลิตสินค้าให้ทันต่อความต้องการของลูกค้า  และนักเรียนใช้สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเลือกเรียนวิชาเลือกที่เหมาะสมกับนักเรียน
3. ผู้บริหารระดับสูง  เป็นการใช้สารสนเทศเพื่อการวางแผนระยะยาว  ใช้สำหรับควบคุมนโยบาย
และวางแผนเชิงกลยุทธ์  สารสนเทศที่ใช้จึงมักเป็นผลสรุปที่สามารถนำมาประกอบ การวิเคราะห์  การประเมิน
และการตัดสินใจได้ง่ายยิ่งขึ้น  เช่นผู้จัดการนำผลสรุปค่าเฉลี่ยการผลิตสินค้ามาใช้ในการตัดสินใจซื้อ เครื่องจักรใหม่  และนักเรียน ใช้ผลสรุปคะแนนเรียนทั้งหมดมาตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยตามความสามารถ 
เพื่อประโยชน์ในการประกอบอาชีพ

วิธีประมวลผลของข้อมูล ( Method of processing data)

         วิธีประมวลผลของข้อมูล  ( Method of processing data)

วิธีการประมวลผลข้อมูล
    2.3.1 การประมวลผลข้อมูล

  ในการนำข้อมูลไปใช้ให้เกิดประโยชน์ หรือการทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ เพื่อที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้ จำเป็นต้องมีการประมวลผลข้อมูลก่อน
ในการนำข้อมูลไปใช้ให้เกิดประโยชน์ หรือการทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ เพื่อที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้ จำเป็นต้องมีการประมวลผลข้อมูลก่อน
การประมวลผลข้อมูล จึงเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญ เพราะข้อมูลที่มีอยู่รอบ ๆ ตัวเรามีเป็นจำนวนมาก ในการใช้งานจึงต้องมีการประมวลผลเพื่อให้เป็นสารสนเทศ กิจกรรมหลักของการให้ได้มาซึ่งสารมนเทศจึงประกอบด้วยกิจกรรมการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งต้องมีการตรวจสอบความถูกต้องด้วย กิจกรรมการประมวลผลซึ่งอาจจะเป็นการแบ่งแยกข้อมูล การจัดเรียงข้อมูล การคำนวณ และกิจ กรรมการเก็บรักษาข้อมูลซึ่งอาจต้องมีการทำสำเนา หรือทำรายงานเพื่อแจกจ่าย

image



2.3.2 วิธีการประมวลผล 
  วิธีการประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งได้ตามสภาวะการนำข้อมูลมาประมวลผล ซึ่งได้แก่ 

2.3.2.1
 การประมวลผลแบบกลุ่ม ( batch processing) หมายถึง การประมวลผลในเรื่องที่สนใจเป็นครั้ง ๆ เช่น เมื่อต้องการทราบผลสำรวจความนิยมของประชาชนต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือที่เรียกว่า โพล (poll) ก็มีการสำรวจข้อมูลโดยการเก็บรวมรวมข้อมูล เมื่อการเก็บรวมรวมข้อมูลได้แล้วก็นำมาป้อนเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วนำข้อมูลนั้นมาประมวลผลตามโปรแกรมที่ได้กำหนดไว้ เพื่อรายงานผลหรือสรุปหาคำตอบ กรณีการประมวลแบบกลุ่มจึงกระทำในลักษณะเป็นครั้ง ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ โดยจะต้องมีการรวบรวมข้อมูลไว้ก่อน เช่น การสำรวจดารายอดนิยม สำรวจนักร้องยอดนิยม สำรวจความคิดเห็นต่อรายการโทรทัศน์ต่าง ๆ เป็นต้น
ในการประมวลผลทั้ง 2 แบบนี้เป็นวิธีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยดำเนินการกับข้อมูลจำนวนมาก เพื่อแยกแยะ คำนวณ หรือดำเนินการตามที่กำหนดไว้ในโปรแกรม การทำงานของคอมพิวเตอร์ในการประมวลผลจึงต้องมีซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอยสั่งการ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ในรูปแบบที่ต้องการ


image



2.3.2.1 การประมวลผลแบบเชื่อมตรง (Real Time processing)  เป็นการประมวลผลแต่ละรายการและให้ผลลัพธ์ทันทีเมื่อมีการป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบ การประมวลผลแบบทันทีถ้าเป็นการประมวลผลรายการแบบออนไลน์จะเรียกว่า Online Transaction Processing หรือ OLTP  เช่น  การจองตั๋วเครื่องบิน การซื้อสินค้าในห้างสรรพสินค้า การฝากถอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม การประมวลผลแบบเชื่อมตรงจึงเป็นวิธีการที่ใช้กันมากวิธีหนึ่ง


image